1. จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ตอบ 1. ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือดีบีเอ็มเอส คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการฐานข้อมูล ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนิยามข้อมูล การจัดการข้อมูล การดูแลความปลอดภัยและความถูกต้องของข้อมูล การฟื้นสภาพข้อมูลและควบคุมภาวะพร้อมกัน การจัดทำพจนานุกรมข้อมูล
2. ระบบจัดการฐานข้อมูลมีประโยชน์ต่อฐานข้อมูลดังนี้ คือ ความเป็นอิสระของข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูล การกำหนดสิทธิในการใช้ข้อมูล การฟื้นสภาพข้อมูลอัตโนมัติเมื่อระบบเกิดความเสียหาย การดูแลผู้ใช้หลายคนให้สามารถทำงานพร้อมกัน การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล
3. ระบบจัดการฐานข้อมูลมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ส่วนการจัดการฐานข้อมูล ส่วนประมวลผลสอบถาม ส่วนแปลภาษานิยามข้อมูล และส่วนรหัสออบเจกต์ของโปรแกรมประยุกต์
4. ภาษาหลักที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูล คือ ภาษานิยามข้อมูลและภาษาจัดการข้อมูล ภาษานิยามข้อมูลใช้สำหรับกำหนดโครงสร้างฐานข้อมูล ภาษาจัดการข้อมูลใช้สำหรับสอบถามข้อมูลเพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล เกณฑ์หลักที่ใช้ในการจำแนกประเภทของระบบจัดการฐานข้อมูล คือ แบบจำลองข้อมูล
5. สถาปัตยกรรมไคลเอ็นต์เซอร์ฟเวอร์มี 2 ส่วนที่สำคัญ คือ เซอร์ฟเวอร์หรือแบ็กเอนด์หรือเครื่องให้บริการ และไคลเอ็นต์หรือฟรอนเอนด์หรือเครื่องใช้บริการ โดยเครื่องให้บริการฐานข้อมูลจะต้องมีระบบจัดการฐานข้อมูลอยู่ที่เครื่องเซอร์ฟเวอร์ การใช้งานฐานข้อมูลแบบไคลเอ็นต์เซอร์ฟเวอร์มี 3 ลักษณะ คือ ไคล์เอ็นต์เซอร์ฟเวอร์แบบเอสคิวแอล ไคลเอ็นต์เซอร์ฟเวอร์แบบเมสเซส และไคลเอ็นต์เซอร์ฟเวอร์แบบ 3 ระดับชั้น
2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ “ โครงสร้างแฟ้มข้อมูล ” (data structure) หมายถึง รูปแบบของการจัดระเบียบของข้อมูล ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปยังหน่วยที่ใหญ่ขึ้นตามลำดับต่อไปนี้
1. บิท (Bit : Binary Digit) คือ หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Bit จะแทนด้วยตัวเลขหนึ่งตัว คือ 0 หรือ 1 อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกตัวเลข 0 หรือ 1 ว่าเป็น บิท 1 บิท
2. ไบท์ (Byte) คือ หน่วยของข้อมูลที่นำบิทหลายๆบิทมารวมกัน แทนตัวอักษรแต่ละตัว เช่น A, B, …, Z, 0, 1, 2, … ,9 และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ เช่น $, &, +, -, *, / ฯลฯ โดยตัวอักษร 1 ตัวจะแทนด้วยบิท 7 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะเรียกว่า ไบท์ เช่น ตัว A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น 1000001 ส่วนตัว B จะเก็บเป็น 1000010 เป็นต้น
3. เขตข้อมูล (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักขระหลายๆตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย เช่น รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา นามสกุล ที่อยู่ คณะ และสาขาวิชา เป็นต้น
4. ระเบียน (Record) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน หรือค่าของข้อมูลในแต่ละเขตข้อมูล เช่น ระเบียนนักศึกษาคนที่ 1 ประกอบด้วยเขตข้อมูล รหัสนักศึกษา 4800111 , ชื่อ : สาธิต, นามสกุล : กิตติพงศ์, โปรแกรมวิชา : บรรณารักษศาสตร์, คณะ : มนุษยศาสตร์ เป็นต้น
5. แฟ้มข้อมูล (File) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำระเบียนหลาย ๆ ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย ระเบียนจำนวน 5 ระเบียน หรือ 5 แถว ซึ่งก็คือ รายละเอียดของนักศึกษาจำนวน 5 คน นั่นเอง
6. ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล ที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลรายวิชา นักศึกษา การลงทะเบียน ผลการเรียน และอาจารย์ผู้สอน เป็นต้น
3. การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ในการจัดการข้อมูลด้วยแฟ้มข้อมูลที่เป็นอิสระและกระจัดกระจายนั้น พบว่าแต่ละแผนกแต่ละงานมีแฟ้มข้อมูลของตัวเองแยกเก็บในแต่ละแผนก เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าอาจมีความคล่องตัวสูงแต่ในขณะเดียวกันอาจเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ดังนี้
1. เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (data redundancy) เนื่องจากแต่ละฝ่ายมีแฟ้มข้อมูลของตนเอง คือ ข้อมูลชุดเดียวกันมีการจัดเก็บในแฟ้มข้อมูลที่ต่างกัน หรือข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บอยู่ในสองแฟ้มข้อมูลหรือมากกว่า ซึ่งจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่และแรงงานในการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนนั้น
2. ลำบากต่อการแก้ไข (updating difficulties) ความซ้ำซ้อนของข้อมูลจะทำให้ยากต่อการแก้ไขข้อมูลเหล่านั้น เนื่องจากถ้ามีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลงจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกแฟ้มข้อมูลที่มีข้อมูลซ้ำกันทั้งหมด ทำให้อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ และเกิดความสับสนหากข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูลไม่ตรงกัน รวมทั้งสิ้นเปลืองแรงงานในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่ซ้ำซ้อนนั้นด้วย
3. เกิดความขัดแย้งของข้อมูล (data inconsistency) เป็นปัญหาที่มีเกิดจากการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลชุดเดียวกันในหลายแฟ้มข้อมูล อาจทำให้ข้อมูลชุดเดียวกันมีค่าที่แตกต่างกันได้ในแต่ละแฟ้มข้อมูล ถ้ามีการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลไม่ครบถ้วน ซึ่งทำให้ไม่ทราบว่าข้อมูลชุดใดคือข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด
4. เกิดการผูกติดกับข้อมูล (data dependence) เมื่อโปรแกรมได้ถูกพัฒนาสำหรับใช้กับแฟ้มข้อมูลใดโดยเฉพาะ จะทำให้เกิดการผูกติดกันกับรูปแบบของข้อมูล กล่าวคือ ถ้าโปรแกรมหรือรูปแบบข้อมูลฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกิดการเปลี่ยนแปลง จะทำให้อีกฝ่ายต้องมีการแก้ไขด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการพัฒนาโปรแกรม
5. การกระจัดกระจายของข้อมูล (data dispersion) ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ในแหล่งต่าง ๆ อย่างกระจัดกระจายและไม่เป็นระบบ โดยมีโครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลผูกติดอยู่กับโปรแกรมที่ใช้งานข้อมูลเหล่านั้น จะทำให้เกิดความยากในการใช้ข้อมูลร่วมกันของโปรแกรมอื่น เนื่องจากต้องมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่เพื่อให้ใช้รูปแบบข้อมูลที่แตกต่างกันได้
6. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลลดลง (underutilization of data) เนื่องจากต้องมีการพัฒนาโปรแกรมโดยเฉพาะสำหรับการใช้งานข้อมูลเพื่องานนั้นๆ โดยไม่สามารถใช้โปรแกรมเดิมที่ใช้งานอยู่ได้ ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ยาก และปฏิเสธที่จะใช้งานในที่สุด
4. ฐานข้อมูลคืออะไร และแยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ
ตอบ ระบบฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลในคลังสินค้าและฐานข้อมูลลูกค้า
5. ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
ตอบ 1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
3. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
4. รักษาความถูกต้องและความเชื่อถือได้ของข้อมูล
5. สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
6. สามารถกำหนดระบบรักษาความปลอดภัยได้
7. มีความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม
6. ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลอย่างไร
ตอบ ระบบจัดการฐานข้อมูล (DMBS) คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลในฐานข้อมูล ทั้งการสร้าง, การเรียกใช้งาน, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และยังควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
มีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูล ดังต่อไปนี้
· แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
· นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
· ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
· รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
· เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาตา (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
· ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพได้นะ
· ควบคุมสถานะภาพของคอมพิวเตอร์ในการแปลสภาพฐานข้อมูล ส.ท
7. ยกตัวอย่าง ฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
ตอบ ฐานข้อมูลที่กับการดำเนินชีวิตประจำวันที่เรารู้จักกันก็คือ การใช้บริการห้องสมุดของมหาลัยที่ใช้การรูดบัตรนักศึกษาในการเข้าใช้บริการ ซึ่งสามารถทำให้ทราบจำนวนในการเข้าใช้บริการในแต่ละวัน ทราบชื่อ – นามสกุล รหัสนักศึกษา คณะ และสาขาวิชา ของนักศึกษาที่มาใช้บริการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น